วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 6 

อาจรย์ได้ ให้พรีเซ้นงานกลุ่ม นักทฤษฎีโคลเบิร์ก ลอเล้น
กลุ่มของดิฉันได้ทำพาเวอร์พ้อยและบันทึกเสียงเพื่อเป็นการ บรรยาแทน การออกไปพูดหน้าห้อง 




โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์ ( Piaget) คือ เชื่อว่า จริยธรรมนั้นมีพัฒนาการตามระดับวุฒิภาวะเช่นกัน เพราะจริยธรรมของมนุษย์เกิดจากกระบวนการทางปัญญา เมื่อมนุษย์มีการเรียนรู้มากขึ้น โรงสร้างทางปัญญาเพิ่มพูนขึ้น จริยธรรมก็พัฒนาตามวุฒิภาวะ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งเชื่อว่าจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับอายุ กาลเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และสภาพการณ์ ซึ่งความหมายว่า ความถูกต้อง” “ความดี” “ความงามขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ และองค์ประกอบอื่น ๆ 
ผู้บันทึกอนุทิน 
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา 
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
สัปดาห์ที่ 7







ความหมายและความสำคัญของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย คือ เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ปีบริบูรณ์ การอบรมและเลี้ยงดูแก่เด็กปฐมวัยมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการการเรียนรู้ ในสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน จากบิดา มารดา คนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่เป็นรากฐานของ บุคลิกภาพ อุปนิสัย และการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ สมอง สติปัญญา ความสามารถ เพราะเด็กในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์แม่จนถึง 4 ปี ระบบประสาทและสมองจะเจริญเติบโตในอัตราสูงสุด (ประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่) การอบรมปลูกฝังสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านให้แก่เด็กปฐมวัยได้เจริญ เติบโตเต็มศักยภาพในช่วงอายุนี้ จะเป็นรากฐานที่ดีจะให้เขาเติบโตเป็นเยาวชนและพลเมืองที่ดี เฉลียวฉลาด คิดเป็น ทำเป็น และมีความสุข เด็กปฐมวัยจะมีชีวิต รอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพาพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดูโดยเข้าใจเด็กพร้อมจะ ตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลย์กันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรง แจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์


ภาพระหว่างที่เพื่อนนั่งเรียน


ภาพระหว่างอาจารย์ที่สอน



ผู้บันทึกอนุทิน 
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 





สัปดาห์ที่ 5


อาจารย์ได้ให้พรีเซ้น บทความของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ดิฉันเลยเอาเรื่อง อาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
 มีข้อมูลดังนี้









การประเมิน 
อาจารย์ ได้ให้ความรู้แนะนำอธิบาย เพิ่มเติมจากบทความที่ได้หา 
เพื่อน ได้ความรู้ เบื้องต้นจากการอ่านบทความและฟังคำอธิบาย
ตัวเรา ได้ความรู้เพิ่มเติม จากบทความของเพื่อน และของตัวเอง



ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย













สัปดาห์ที่ 4


วันนี้อาจารย์ให้พรีเซนต์พาเวอร์พ้อย สองกลุ่ม พอเพื่อนพรีเซ้นเสร็จ อาจารย์ก็ได้เปฺด วีดีโอความรู้ให้ดู
2  วีดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ของการอบรมณ์เลี้ยงดูเด็กทั้งเด็กปฐมวัย และเด็กโต เป็นการสื่อให้เห็นความแตกต่างของการเลี้ยงลูก ในแต่ละครอบครัว


วีดีโอที่ 1 ฟ้ามีตา ตอน ลูกเราน่ารักจังเลย สรุปได้ว่า พ่อแม่ รังแกลูกด้วยคำชม ในสิ่งที่ลูกทำไม่ถูกต้อง ไม่บอกไม่สอนลูกในทางที่ดีคิดว่าลูกเด็กแล้วทำอะไรก็น่ารักไปหมด รักลูกจนเกินไป
เลยทำให้ความรักไปทำร้ายลูกของตัวเอง 





วีดีโอที่ 2 ของเล่น สรุปได้ว่า การที่พ่อแม่กดดันและคาดหวังกับลูก คิดว่าบังคับให้ลูกได้แต่เรียนหนังสือจนไม่มีเวลาทำอะไร เป็นการรักลูก และพ่อแม่ไม่เคยเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำสิ่งที่เขาอยากทำ วีดีโอนี้ก็เป็นการเลี้ยงลูกที่กดดัน ไม่มีอิสระ ในการใช้ชีวิต สุดท้ายลูกเครียด พ่อแม่ก็เสียใจทีหลัง







ผู้บันทึกอนุทิน 
นางสาวรัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย


สัปดาห์ที่ 3


เรียนเรื่อง ทฤษฎ๊ที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย






ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์



พัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับโดยสัญชาติญาณ  แรงขับ ดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)
โครงสร้างบุคลิกภาพ




อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
  อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
  ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม
โครงสร้างด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –18  เดือน
  ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัย 2 – 3 ปี
  ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะพัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี
  ขั้นที่ 4 ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี
  ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศ (Genital Stage) เป็นระยะสนใจเพศตรงข้าม วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป


 ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน



ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสัน
ได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนา
บุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุ
ทำให้ป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
โดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ
พัฒนาการในวัยต่อไป…”

ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซลเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือการเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์

พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์ ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาในความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

โคลเบอร์กเห็นด้วยว่าพัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมเช่นเดียวกับเพียเจท์ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ และมีแนวคิดว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละบุคคล จะแตกต่างกันและมีระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละขั้นต่างกัน

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์     (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก



และอาจารย์ได้สั่งงานกลุ่ม นำเสนอ ทฤษฎี


ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 2 ของการเรียนวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย


วันนี้เรียนเรื่อง เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ





ทฤษฏีพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดู และการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย ด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ สามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
• ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
• มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
• พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ


ความหมายของการพัฒนา

พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
  1) พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
  2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
  3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น

  4) อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ ของอินทรีย์ (differentiation)
  6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้ ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
  7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน แม้ว่าจะมีพัฒนาการหลายด้านเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ตาม
  8) พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
  9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal factors) ได้แก่
  1.1 พันธุกรรม (heredity)
  1.2 วุฒิภาวะ (maturation)

2. เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย (external factors)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
1. อาหาร
  2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
  3. เชื้อชาติ
  4. เพศ
  5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
  6. สติปัญญา
  7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ

  8. ตำแหน่งในครอบครัว
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประเภทต่างๆ

ประเภทของเด็ก
เริ่มเดิน
เริ่มพูด
เด็กที่ฉลาดมาก
เด็กที่ฉลาดปานกลาง
เด็กที่โง่
เด็กที่โง่มาก
อายุ 13 เดือน
อายุ 14 เดือน
อายุ 22 เดือน
อายุ 30 เดือน
อายุ 11 เดือน
อายุ 16 เดือน
อายุ 34 เดือน
อายุ 35 เดือน
ความหมายและลักษณะของเด็กพิเศษ

คำว่า เด็กพิเศษ หรือ Children With Special Need หมายถึงเด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ ยังมีคำภาษาไทยใช้กันอยู่หลายคำ คือเด็กนอกระดับ เด็กผิดปกติ เด็กพิการ เด็กอปกติ แต่คำที่ใช้บ่อย และถือเป็นสากลก็คือคำว่า “เด็กพิเศษ”
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถจัดแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง
  2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

  ด้วยความสามารถหรือมีปัญหา ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีการเรียนรู้ช้า ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เทียบไม่ได้กับเด็กในระดับเดียวกัน และในกลุ่มเด็กบกพร่องนี้ จะมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมตามมา
วิธีสังเกตุการเจริญเติบโตของเด็ก
ใช้วิธีการง่าย ๆ คือ การสังเกตหรือสอบถามจากผู้ที่มีลูกแล้ว เมื่อทราบและสังเกตพบว่า เด็กมีการเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ปกติดังกล่าวข้างต้นประมาณ 2 – 3 เดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือ
  1. พาเด็กไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจพัฒนาการของเด็ก

  2. พาเด็กไปรับการส่งเสริมพัฒนาการตามโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขต่าง ๆ
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ขวบ





การปฏิสนธิจนถึงการคลอด




ได้ดูวีดีโอการคลอดลูก
 การเจริญเติบโตตั้งแต่ แรกเกิดถึง หกปี







ความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการของเด็กปฐมวัย อาจแบ่งความต้องการได้ดังนี้
  1. ความต้องการด้านร่างกาย
  2. ความต้องการด้านอารมณ์
  3. ความต้องการด้านสังคม
  4. ความต้องการด้านสติปัญญา



ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา 
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย






อนุทินครั้งที่ 14 วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561 ในคาบนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่องการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษา น...