วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 3


เรียนเรื่อง ทฤษฎ๊ที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย






ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์



พัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับโดยสัญชาติญาณ  แรงขับ ดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)
โครงสร้างบุคลิกภาพ




อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
  อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
  ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม
โครงสร้างด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –18  เดือน
  ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัย 2 – 3 ปี
  ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะพัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี
  ขั้นที่ 4 ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี
  ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศ (Genital Stage) เป็นระยะสนใจเพศตรงข้าม วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป


 ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน



ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
“ทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพของอีริคสัน
ได้แสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องของการพัฒนา
บุคลิกภาพของบุคคล ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุ
ทำให้ป็นแนวทางสำ คัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
โดยเฉพาะในวัยทารก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของ
พัฒนาการในวัยต่อไป…”

ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซลเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือการเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์

พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์ ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาในความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก

โคลเบอร์กเห็นด้วยว่าพัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมเช่นเดียวกับเพียเจท์ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ และมีแนวคิดว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละบุคคล จะแตกต่างกันและมีระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละขั้นต่างกัน

ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์

เจอโรม บรุนเนอร์     (Jerome.S.Bruner) ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางการคิดและใช้เหตุผล (Cognitive) โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลัก



และอาจารย์ได้สั่งงานกลุ่ม นำเสนอ ทฤษฎี


ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อนุทินครั้งที่ 14 วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561 ในคาบนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่องการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษา น...