ทฤษฏีพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดู
และการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัย
ด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน
เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต
เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ
สามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
•
ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
•
ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
•
มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
•
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
•
มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
•
พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
•
ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ
ความหมายของการพัฒนา
พัฒนาการ หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง
เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม
อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน
และเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1.
พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2.
การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
1)
พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว
ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป
(proximo
distal direction)
3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
4)
อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่
ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
5)
ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง
ๆ ของอินทรีย์ (differentiation)
6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้
ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น
ๆ ด้วย
7)
พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
แม้ว่าจะมีพัฒนาการหลายด้านเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ตาม
8)
พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9)
พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1.
เกิดจากองค์ประกอบภายในร่างกาย (internal
factors)
ได้แก่
1.1
พันธุกรรม (heredity)
1.2 วุฒิภาวะ
(maturation)
2.
เกิดจากองค์ประกอบภายนอกร่างกาย
(external
factors)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
1.
อาหาร
2.
อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
3.
เชื้อชาติ
4.
เพศ
5.
ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
6.
สติปัญญา
7.
การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
8.
ตำแหน่งในครอบครัว
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กประเภทต่างๆ
ประเภทของเด็ก
|
เริ่มเดิน
|
เริ่มพูด
|
เด็กที่ฉลาดมาก
เด็กที่ฉลาดปานกลาง
เด็กที่โง่
เด็กที่โง่มาก
|
อายุ
13 เดือน
อายุ
14 เดือน
อายุ
22 เดือน
อายุ
30 เดือน
|
อายุ
11 เดือน
อายุ
16 เดือน
อายุ
34 เดือน
อายุ
35 เดือน
|
ความหมายและลักษณะของเด็กพิเศษ
คำว่า เด็กพิเศษ หรือ Children
With Special
Need หมายถึงเด็กที่มีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ
ยังมีคำภาษาไทยใช้กันอยู่หลายคำ
คือเด็กนอกระดับ เด็กผิดปกติ เด็กพิการ เด็กอปกติ
แต่คำที่ใช้บ่อย
และถือเป็นสากลก็คือคำว่า
“เด็กพิเศษ”
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษสามารถจัดแบ่งได้เป็น
2 กลุ่ม คือ
1.
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง
2.
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
ด้วยความสามารถหรือมีปัญหา
ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กที่มีการเรียนรู้ช้า
ตลอดจนการพัฒนาด้านต่าง ๆ เทียบไม่ได้กับเด็กในระดับเดียวกัน
และในกลุ่มเด็กบกพร่องนี้ จะมีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมตามมา
วิธีสังเกตุการเจริญเติบโตของเด็ก
ใช้วิธีการง่าย
ๆ คือ การสังเกตหรือสอบถามจากผู้ที่มีลูกแล้ว
เมื่อทราบและสังเกตพบว่า เด็กมีการเติบโตช้ากว่าเกณฑ์ปกติดังกล่าวข้างต้นประมาณ
2 – 3 เดือน สิ่งแรกที่ควรทำคือ
1.
พาเด็กไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อตรวจพัฒนาการของเด็ก
2.
พาเด็กไปรับการส่งเสริมพัฒนาการตามโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน
รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุขต่าง ๆ
การปฏิสนธิจนถึงการคลอด
ได้ดูวีดีโอการคลอดลูก
การเจริญเติบโตตั้งแต่ แรกเกิดถึง หกปี
ความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการของเด็กปฐมวัย อาจแบ่งความต้องการได้ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการด้านอารมณ์
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความต้องการด้านสติปัญญา
ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา กล้าการนา
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น