วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561








อนุทินครั้งที่ 14


วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561




ในคาบนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่องการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษา นำเอาวัตถุดิบ อุปกรณ์ มาทำที่ โรงเรียนสาธิต


กลุ่มของ ข้าพเจ้า ได้ทำ ซุปไก่ 5 สหาย   และ  สาคู





และอาหารของ เพื่อนๆ 




ขนมของอาจารย์



และสุดท้ายคือ การสรุป การประเมิน อาหาร 
และให้รางวัล ที่มีดาวเยอะ




การประเมิน ประจำวันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561



อาจารย์    ให้ความช่วยเหลือโดยการเดินมาดูและบอกวิธีการทำ
เพื่อน        ร่วมมือกันทำอย่างตั้งใจ
ตัวเอง      ได้เรียนรู้วิธีการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย


























อนุทินครั้งที่ 13


วันอังคาร ที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ.2561









อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก






หลักการจัดอาหารที่เหมาะสม
กับพัฒนาการเด็ก



                 อาหารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เพราะมีผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย สมอง ระบบประสาทและสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์และบุคลิกภาพ  เด็กปฐมวัยจึงต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่โดยเฉพาะทางด้านอาหารและโภชนาการ เด็กวัยนี้จะมีความสนใจเรื่องการรับประทานอาหารน้อยลง เนื่องจากมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้นและห่วงการเล่นเด็กจึงมีโอกาสขาดสารอาหารได้  ซึ่งการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการจะช่วยให้ร่างกายเด็กเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ จึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมให้กับเด็ก












ประโยชน์ของนมแม่





  • นมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิด เหมาะกับเด็กทารกที่ยังกินอาหารปกติเหมือนผู้ใหญ่ไม่ได้
  • กินนมแม่ช่วยลดโรคมะเร็งต่าง
  • นมแม่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม
  • นมแม่มีรสชาติอร่อยกว่านมผสม
  • ทารกที่ป่วยหรือไม่สบายกินนมแม่แล้วอาการจะดีขึ้นค่ะ
  • นมแม่สะอาดที่สุด ไม่มีเชื่อแบคทีเรีย
  • กินนมแม่แล้วทารกจะผิวพรรณสดใส
  • กินนมแม่ทำให้ระบบย่อยอาหารของลูกทำงานได้ดีกว่าเด็กที่กินนมผสม
  • ลดการติดเชื้อจากระบบทางเดินหายใจ
  • ฟันที่ขึ้นของลูกจะสวยกว่าเด็กที่กินนมจากขวด
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนดเมื่อกินนมแม่แล้วจะทำให้ร่างกายแข็งแรงเร็วขึ้น
  • คุณแม่ที่ให้นมลูกหลังคลอดน้ำหนักจะลดลงเร็วกว่าคุณแม่ที่ให้นมผสมกับลูก
  • คุณแม่จะรู้สึกรักและผูกพันกับลูกมากยามให้นมลูกด้วยความรัก
  • คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมจะช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอดได้
  • ให้นมได้ตามที่ลูกต้องการลูกจะอิ่มนมจากคุณแม่เองโดยที่คุณแม่ไม่ต้องกะปริมาณการให้
  • ไม่เสียเวลาเตรียมอุปกรณ์ในการให้นมแม่ สามารถให้นมแม่ได้เลยยามที่ลูกต้องการ
  • การให้ลูกกินนมแม่ทำให้ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้หลายบาทต่อเดือน
  • ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  • ให้ลูกกินนมแม่ช่วยคุมกำเนิดได้
  • ให้ลูกกินนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็งเต้านม
  • ทำให้คุณแม่รู้สึกถึงความเป็นแม่ และมีความภาคภูมิใจในตัวเอง
  • สุขภาพของลูกจะแข็งแรง ไม่เสียค่าใช้จ่ายในรักษาพยาบาล



การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ.2561

อาจารย์    มาตรงเวลา สอนเข้าใจ 
เพื่อน       แต่งกายเรียบร้อย 
ตัวเอง      ตั้งใจฟัง 




        ผู้บันทึกอนุทิน

นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา












อนุทินครั้งที่ 12
                                             วันอังคาร ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561




อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาออกมานำเสนอเกี่ยวกับ คุณธรรม8 ซึ่งการนำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มว่าจะออกแบบ หรือ เทคนิคการนำเสนออย่างไร ซึ่งก็ได้มีการเลือกเรื่องแบ่งกันเป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ในหัวข้อเรื่อง "
ความสะอาด


https://www.youtube.com/watch?v=F1Axm6isKaI&feature=youtu.be



สะอาด คือ ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตไม่ให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจและสภาพแวดล้อมมีความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
๗. สามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง สามารถแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุมีผล ยอมรับความแตกต่าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดและความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์









การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2561


อาจารย์    ให้คำอธิบายเพิ่มเติม ในสิ่งที่กลุ่มเราและเพื่อนนำเสนอออกมาไม่หมด
เพื่อน        ตั้งใจทำ ตั้งใจนำเสนอ ตั้งใจ ดู
ตัวเอง       ตั้งใจทำวิ่งที่มองหมาย ตั้งใจเรียน


ผู้บันทึกอนุทิน

นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา








อนุทินครั้งที่ 11 




                                  วันอังคาร ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561






อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาได้ออกมานำเสนอวิดีโอเกี่ยวกับการไปสัมภาษณ์คุณครูอนุบาลตามโรงเรียนต่างๆที่
นักศึกษาแต่ละกลุ่มได้ไปทำการติดต่อไว้ โดยมีคำถามที่จะนำไปทำการสัมภาษณ์คุณครู ถึงเรื่องของการเรียนการสอนว่า คุณครูนั้นมีการจัดการเรียนการสอนอย่างไรอย่างไร ครูมีบทบาทอย่างไร มีการอบรมเลี้ยงดูุเด็กอย่างไร

และสุดท้าย ให้บอกถึงอุปสรรคในการไปสัมภาษณ์ในครั้งนั้นด้วยว่าเป็นอย่างไร 



การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561

อาจารย์     ให้ความรู้เพิ่มเติม และติชม การนำเสนอ
เพื่อน         ตั้งใจฟัง ตั้งดู 
ตัวเอง       ได้รู้แนวทางของ รร อื่นๆที่เพื่อนนำมาเสนอ




           ผู้บันทึกอนุทิน

นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา












อนุทินครั้งที่ 10

                        วันอังคาร ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561



บรรยากาศในห้องเรียน









อาจารย์ได้สอนในเรื่อง


ความหมายของสิ่งแวดล้อม

1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment)  ได้แก่การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์ เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดจากคนและสัตว์


ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม

เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็ก
และวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็น
สมาชิกของสังคมนั้น จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยม


การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย

ความหมายของคำว่า จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”



ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตผลทางจริยธรรม


โคลเบอร์ก

ระดับจริยธรรม 
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล 

ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์ 

ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก 


สกินเนอร์

การเสริมแรง(Reinforcement )
หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ ในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น ลักษณะคือ
 1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
 2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้า


แบนดูร่า

แนวคิดและทฤษฎี
บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ
บันดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมาก เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็น ตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ เป็นตัวแบบ สัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็น รูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ คำบอกเล่า ด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์- อักษรก็เป็นตัวแบบได้


คุณธรรม จริยธรรม 8 ประการ










การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 20 เดือน มีนาคม พ.ศ.2561


อาจารย์    อธิบายในรายวิชาได้ดี และทำให้เข้าใจ
เพื่อน       แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
ตัวเอง      มีความพร้อมในการเรียน





ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา

















อนุทินครั้ง ที่ 9
                            วันอังคารที่ 13 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 11.30 น.




คาบนี้เป็นการสอบกลางภาคของเทอมที่ 2 (สอบนอกตาราง)



4 ข้อ 20 คะแนน 
เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง

12.00-14.00 น.




การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 13 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561


อาจารย์    ตั้งใจคุมสอบ  
เพื่อน       ไม่ลอกข้อสอบกัน
ตัวเอง      ทำข้อสอบได้ดีตามที่ตัวเองอ่านมา



ผู้บันทึกอนุทิน
นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา













บันทึกครั้งที่ 8




                             วันอังคาร ที่ 6 เดือน มีนาคม  พ.ศ.2561 เวลา 11.30 น.












บรรยากาศในห้องเรียน







อาจารย์ได้ให้นำเสนอ งานที่ตนเองได้รับมอบหมาย 
โดยผ่านการ แสเงหน้าชั้นเรียน หรือ นำเสนอเป็นวีดีโอก็ได้ตามแต่ที่กลุ่มใดจะทำ
โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ  การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งมีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่

1.การอบรมเลี้ยงดูแบบรักมากถนุดถนอม
2.การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
3.การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวัง
4.การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลย

กลุ่มของข้าพเจ้าได้นำเสนอ ในเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย





ท้ายคาบ อาจารย์ได้ให้แนวข้อสอบไว้ เป็นข้อสอบ อัตนัย 

การประเมิน ประจำวันอังคาร ที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561


อาจารย์   ให้คำแนพนำที่ดี ต่อการอบรมเลี้ยงดูแต่ระแบบ ให้เห็นภาพ
เพื่อน       ให้ความร่วมมือในการนั่งฟังด้วยความตั้งใจ
ตัวเอง     ได้รู้แนวทางการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพิ่มขึ้นและนำไปปรับใช้
ผู้บันทึกอนุทิน 
นางสาวณัฎฐา   กล้าการนา 
เลขที่ 15 








อนุทินครั้งที่ 14 วันที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2561 ในคาบนี้ อาจารย์ได้สอนในเรื่องการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษา น...